วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์



หน่วยที่ 1
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์



1. ความหมายของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 




ซอฟต์แวร์ (Software) 
หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลำดับขั้นตอนการทำงานซึ่งเขียนด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์


ซอฟต์แวร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็น 
2 ประเภท คือ 

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) 

หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล 

ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 
1. ระบบปฏิบัติการ 
    เป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ 

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน 
         1) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์   
         2) ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช  
         3) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์   
         4) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซร์ฟเวอร์              
         5) ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์         6) ระบบปฏิบัติการซิมเบียน 



2. โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ 
    เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆไปเป็นภาษาเครื่องซึ่งแทนด้วยเลขฐานสอง (หรือ 1)
    โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์มีการใช้งานสำหรับการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ 
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 
2.1 แอสเซมเบลอร์  (assembler) 

2. อินเทอร์พรีเตอร์  (interpreter) 


3. คอมไพเลอร์  (compiler)



3. ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์
แปรแกรมที่ติดมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ เป็นโปรแกรมที่ช่วยดูแลระบบการทำงานของวินโดว์เพราะมีหลากหลายโปรแกรม เช่น 
1.โปรแกรมการจัดไฟล์ 

2. ป้องกันไวรัส 

3. บีบอัดไฟล์ 


4.ไฟร์วอลล์ 




2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง
  
1. การจัดพิมพ์รายงาน 



2. การสร้างตารางทำงาน 


3.การนำเสนองาน


http://krupicnic.patum.ac.th


หน่วยประมวลผล
คือ สมองของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานหลักของเครื่อง กล่าวคือ ทำหน้าที่ด้านการคำนวณ ประมวลผลและการเปรียบเทียบตามคำสั่งหรือโปรแกรม โดยทั่วไปในเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์จะติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งจะประกอบด้วย Microprocessor Chip, แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Card) และ Chip ประกอบอื่น ๆ ไว้บนแผงวงจรหลักที่เรียกว่า Mainboard หรือ Motherboard รวมเรียกทั้งหมดนี้ว่า System Unit หรือ System Cabinet นำไปติดตั้งไว้ในตัวถัง หรือ Case


หน่วยความจำหลัก 
หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมทั้งตัวคำสั่งในโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะกำลังทำงานอยู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท


1. แรม (Random Access Memory : RAM)
เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามีหน่วยความจำแรมมากๆ จะทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ดีด้วย หน่วยความจำที่นิยมในปัจจุบันจะประมาณ 32, 64, 128, 256 เมกะไบต์ เป็นต้น


2. รอม (Read Only Memory : ROM)
เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึง โดยสุ่มหน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันทีข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป 




หน่วยรับข้อมูล 

คีย์บอร์ด (Keyboard)

แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด (keyboard) ประกอบด้วยปุ่มตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถใส่ข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 ปุ่ม ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ
101-key Enhanced keyboard
104-key Windows keyboard
82-key Apple standard keyboard
108-key Apple Extended keyboard
Notebook & Palm keyboard

เมาส์ (Mouse)
คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.แบบทางกล (Mechanical)
เมาส์จะมีล้อยางเป็นลูกกลิ้งอยู่ด้านล่าง เมื่อผู้ใช้เมาส์เลื่อนเมาส์ไปบนแผ่นรองเมาส์ (Mouse pad) หรือพื้นโต๊ะ จะทำให้ลูกกลิ้งด้านล่างหมุนและทำให้แกนภายในของเมาส์หมุน ก็จะส่งสัญญาณเป็นพิกัดในการเลื่อนตำแหน่งชี้ (Mouse Pointer) ของเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ เมื่อต้องการเลือกส่งต่าง ๆ บนจอภาพ ทำได้โดยการกดปุ่มซ้ายหรือขวา 1 ครั้ง (Click) หรือ 2 ครั้ง (Double Click) การทำงานของเมาส์นี้จะต้องควบคุมด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า Mouse Driver




2.แบบใช้แสง (Optical mouse)
อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse




3.แบบไร้สาย (Wireless Mouse)

เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อแบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz และปัจจุบันใช้แบบ Nano receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่ 2.4 GHz


หน่วยแสดงผล 
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

1. จอภาพ

คือส่วนที่จะแสดงผลลัพธ์หรือเอ้าท์พุท จากการทำงานของคอมพิวเตอร์ออกมาทางจอภาพให้เราได้เห็นกันโดย Monitor จะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง

2.  เครื่องพิมพ์

คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร

หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์สำรอง ข้อมูลอื่นๆ 
คอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากแรม ที่เป็นหน่วยเก็บข้อมูลหลักก่อน และหากข้อมูลที่ต้องการไม่มีในแรม ก็จะทำการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองไปเก็บไว้ที่แรมก่อน ทั้งนี้เพราะหน่วยเก็บข้อมูลหลัก สามารถทำงานติดต่อกับซีพียูได้ด้วยความรวดเร็วกว่าหน่วยความจำสำรอง แต่หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง มีข้อดีคือ สามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์หลายล้านเท่า ฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่องพร้อมกับอุปกรณ์อื่นๆ มีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว แต่มีความหนากว่าฟลอปปี้ดิสก์  มีตัวอ่านข้อมูลอยู่ภายใน  ในปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่  40  กิกะไบต์ (GB) ขึ้นไป จึงสามารถเก็บข้อมูลได้มาก  โปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบันต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก  โดยเฉพาะโปรแกรมประเภทกราฟิกหรือมัลติมีเดีย จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากพอจึงจะใช้งานได้
ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
ดิสเก็ตต์ (diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็ก ทรงกลม มีพลาสติกแข็งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครอบไว้ชั้นนอก ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถจุข้อมูลได้ 1.44 MB ก่อนการใช้งานจะต้องทำการฟอร์แมตแผ่นก่อน
ซีดี–รอม (CD-ROM)
ย่อมาจากคำว่า Compact Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากราคาไม่แพง มีอายุการใช้หลายปี และมีขนาดเล็ก ซีดีรอมเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสง เพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์

Flash Drive 


เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถลบและเขียนใหม่ได้ เพราะมีลักษณะการทำงานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด แตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ที่ในขณะทำงานจะมีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลา และ Flash drive นั้นยังมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปยังที่ต่างๆ และเหตุผลสำคัญอย่างที่บอกไปแล้ว คือ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเขียนข้อมูลลงไป และสามารถลบเพื่อเขียนใหม่ได้ มีความทนทาน อีกทั้งยังสามารถเลือกขนาดความจุได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นตามความต้องการ แตกต่างจากในสมัยก่อนที่จะมีเพียงแผ่นดิกส์ เท่านั้นที่สามารถเก็บข้อมูลแล้วพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ แต่แผ่นดิกส์ก็มีข้อจำกัดตรงที่พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเก็บได้น้อย และไม่มีความทนทาน


 3. ตัวอย่างคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน
ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานในองค์การทุกประเภท ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณสมบัติที่ดีในการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานมีแนวโน้มว่าจะเพิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่มีการสื่อสารที่มีการพัฒนาอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone) 

1การนำเสนอข้อมูลขององค์การ (Organization Profile) 


หน่วยงานต่างๆได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลขององค์การ ช่วยให้การประชาสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย
2. การนำเสนอและขายสินค้าและบริการ (Sales and Services) 


การทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความยินยอมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน บริษัทและประเภทต่างๆ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตมาเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการอีกทางหนึ่ง

     3. ตรวจสอบการส่งสินค้า (Delivery) 


ปัจจุบันหลายบริษัท เช่น FedEx และ UPS ในสหรัฐอเมริกาได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจสอบการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถสอบถามสถานภาพของสินค้าว่าอยู่ในกระบวนการใด

     4. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) 


เป็นการนำคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การใช้โปรแกรมประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ(Computer Aided Design หรือ CAD) มาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือชิ้นส่วน เป็นต้น
     5. งานบัญชี (Accounting) 



โปรแกรมระบบบัญชีได้รับความนิยมเกือบทุกองค์การบางหน่วยงานอาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชี ในขณะที่บางหน่วยงานอาจพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง

     6. งานบุคลากร (Human Resources) 


การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของบุคลากรในบริษัท ควบคุมและดูแลบุคลากร ช่วยการวางแผนงานด้านบุคลากร รวมถึงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     7. งานฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Database) 



ใช้ในการจัดเก็บประวัติและข้อมูลทั่วไปของลูกค้า เช่น ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลลูกค้าที่มาสั่งซื้อสินค้า เพื่อใช้ในการจัดทำสถิติและการวางกลยุทธทางการตลาด

     8. การเรียนการสอน (Teaching and Learning) 


โลกของเทคโนโลยีสารสนเทศได้เจริญรุดหน้าไปยังทุกหน่วยงาน ไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการธุรกิจเท่านั้น แม้กระทั่งหน่วยงานทางการศึกษาก็ได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน ลักษณะงานที่เด่นชัด เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน การจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาและผลการเรียน


นางสาวจารุวรรณ   ทองกลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น